วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

6 เทคนิค พัฒนาแผนการสอนสำหรับคุณครู

6 เทคนิค พัฒนาแผนการสอนสำหรับคุณครู

  • “แผนการสอน” นั้นถือเป็นหัวใจหลักที่สำคัญของการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ซึ่งตัวครู-อาจารย์ก็ต้องใช้ทั้งเวลาและความรู้ในการวางแผนการสอนให้มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงให้เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอนของเด็กแต่ละช่วงวัย 6 
  • เทคนิคต่อไปนี้ จะเป็นตัวช่วยให้อาจารย์ได้มีแนวทางไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนการสอนได้อย่าง ครอบคลุมและจัดการให้เหมาะสมสำหรับนักเรียนของตน

1. กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน
  • อันดับแรกเริ่มด้วยการกำหนดระยะในการวางแผนการสอนที่แน่นอน เพื่อให้มั่นใจว่า ตัวครู-อาจารย์จะไม่เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ในช่วงระยะเวลาที่สำคัญนี้

2. ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์
  • เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ได้เกิดขึ้นมากมาย เพื่อให้ครู-อาจารย์นั้นสามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดความสะดวกสบายมากขึ้น
  • เช่น การบันทึกแผนการสอนไวใน “Outlook” ซึ่งสามารถเพิ่มเติมได้ รวมไปถึงการใช้แอพพลิเคชั่นที่เรียกว่า “iDoceo” ที่สามารถนำมาปรับใช้กับเอกสารแผนการสอน 
  • และที่สำคัญเพื่อความปลอดภัยของเอกสาร ครู-อาจารย์ก็สามารถนำไปฝากไว้ใน “Google Drive” หรือระบบคลาวด์ 
  • ยิ่งถ้าหากครู-อาจารย์ต้องมีการทำงานร่วมกัน ก็ยังสามารถแบ่งปันเอกสารง่ายๆ ผ่านทาง “Google Drive”  รวมถึงการฝากไฟล์ในระบบคลาวด์ ก็ยังทำให้ครู-อาจารย์สามารถเปิดไฟล์เอกสารได้ จากทุกอุปกรณ์ 
  • และในการบันทึกแผนการสอนต่างๆ ที่พบบนเว็บไซต์ ก็สามารถใช้แอพพลิเคชั่นที่เรียกว่า “Evernote” เป็นต้น


3. ถามตัวเองเพื่อความมั่นใจ
  • ในการวางแผนการสอนนั้น ควรให้การมุ่งเน้นไปที่ว่า เด็กจะได้เรียนรู้อะไรและอย่างไรมากกว่าการมุ่งเน้นไปที่ตัวงาน โดยคำถามต่อไปนี้ จะเป็นตัวช่วยในการวางกรอบแนวความคิดในการพัฒนาแผนการสอนได้
    • 1. อะไรคือความรู้และทักษะที่สำคัญที่ต้องให้นักเรียนได้เรียนรู้ และจะสร้างสรรค์วิธีการท้าทายได้อย่างไร?
    • 2. อะไรที่เป็นความเข้าใจผิดที่มักเกิดขึ้นโดยทั่วไป แล้วตัวครู-อาจารย์เองจะป้องกันหรือขจัดออกไปได้อย่างไร?
    • 3. ครู-อาจารย์จะรู้ได้อย่างไรว่าพื้นฐานความรู้ของเด็กในเรียนในชั้นนั้นมีอะไรบ้าง?
    • 4. เมื่อไหร่ที่ครู-อาจารย์ สมควรจะแสดงให้เห็นถึงวิธีการที่จะนำความรู้และทักษะใหม่ๆ ไปใช้?
    • 5. คำถามอะไรที่ครู-อาจารย์ควรใช้ในห้องระหว่างการเรียนการสอน เพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนเข้าใจในสิ่งที่กำลังเรียนรู้อยู่ในขณะนั้น
    • 6. คำถามอะไรที่จะสามารถใช้ท้าทายนักเรียนได้ เมื่อครู-อาจารย์นั้นมั่นใจแล้วว่า นักเรียนในชั้นรู้พื้นฐานที่สำคัญแล้ว
    • 7. จุดไหนในแผนการสอนที่จะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีการฝึกปฏิบัติ โดยใช้ทักษะการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่เพิ่งเรียนรู้
    • 8. เน้นย้ำในช่วงสุดท้ายของบทเรียน ยกตัวอย่างเช่น สิ่งไหนที่นักเรียนคิดว่าเป็นส่วนที่ยากที่สุดในบทเรียน เพื่อที่ว่า ในครั้งต่อไปจะกลับมาทบทวนหรือเน้นย้ำอีกครั้งได้


4. เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นไปด้วยดี
  • การประเมินผลและการจัดการแผนการสอนนั้น จะก่อให้เกิดความเครียดน้อยลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากแต่ละบทเรียนนั้นมีข้อเสนอแนะที่สำคัญในสิ่งที่เป็นไปได้ด้วยดี และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ ลองใช้ช่วงเวลาท้ายของการประมวลแผนการสอนในการเน้นย้ำในสิ่งที่ควรปรับ เปลี่ยนที่ครู-อาจารย์ต้องทำในอนาคต

5. อย่าหมกมุ่นกับแผนการสอนจนเกินไป
  • การวางแผนการสอนนั้น ต้องอาศัยการคิดพิจารณาถึงรายละเอียดแบบแผน เพื่อไห้ถึงเป้าหมายที่ได้วางไว้ โดยในรายละเอียดแต่ละจุดแต่ละข้อนั้น ต้องมีมากพอที่จะสามารถจัดวางอยู่ในเส้นทางที่เหมาะสม โดยที่ก็สามารถให้ความยืดหยุ่นในรายละเอียด เพื่อการปรับเปลี่ยนแก้ไขในจุด ที่ไม่เหมาะสมได้ และการวางแผนนั้นต้องอาศัยจุดสำคัญที่น่าสนใจ ซึ่งอาจเปิดเป็นประเด็นคำถามเพื่อกระชับความเข้าใจสำหรับเด็กๆ อีกทั้งควรมีการเตรียมการล่วงหน้าในสิ่งที่เด็กอาจเกิดคำถามหรือไม่เข้าใจ และที่สำคัญจงจำไว้ว่าการวางแผนการสอนนั้น ก็เพื่อเสริมสร้างการเรียนการสอนของครู-อาจารย์ ไม่ใช่มีไว้เพื่อจำกัดความคิดของตน

6. สอนน้อยๆ แต่ย้ำเตือนบ่อยขึ้น
  • บางทีการเรียนการสอนที่ป้อนข้อมูลมากจนเกินไป อาจเกินความสามารถของเด็กที่จะเก็บเกี่ยวหรือรับรู้ได้ ในขณะที่การสอนที่น้อยและมีการให้เด็กๆ ได้มีโอกาสได้ทบทวนบ่อยๆ อาจทำให้เด็กๆ เกิดการเรียนรู้ ดังนั้นการวางแผนแต่ละบทเรียน อาจเพิ่มการเชื่อมโยงไปยังบทเรียนก่อนหน้า และทบทวนอีกครั้งในช่วงปลายเทอม เป็นต้น


เรียบเรียงบทความโดย CopyRight : มูลนิธิศักดิ์พรทรัพย์ www.kusol.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น