วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559

41. วิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท (Explicit Teaching Method)

41. วิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท (Explicit Teaching Method)
          วิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท เป็นกระบวนการสอนที่เน้นการทบทวนประจำวัน ประจำสัปดาห์และประจำเดือน มีการตรวจสอบการบ้าน และมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามจุดประสงค์การเรียนรู้สั้นๆ    เข้าใจง่ายได้คำตอบที่ถูกต้องรวดเร็วและแน่นอน
            ขั้นตอนของวิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท

ขั้นตอนที่ 1 ทบทวนประจำวันและตรวจสอบการบ้าน มีขั้นตอนดังนี้
1.1   ตรวจการบ้าน (ผู้สอนอาจให้ผู้เรียนช่วยกันตรวจการบ้าน)
1.2   สอนใหม่เมื่อจำเป็นในเนื้อหาที่สำคัญๆ
1.3   ทบทวนความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องกับความรู้ใหม่และผู้สอนอาจซักถามเพิ่มเติม
1.4   ฝึกปฏิบัติ

ขั้นตอนที่ 2 การนำเสนอสาระความรู้ มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้
2.1 แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้สั้นๆแต่เข้าใจง่าย
2.2 เสนอโครงสร้างและภาพรวมของสาระความรู้
1.3   เริ่มสอนเนื้อหาทีละน้อยทีละขั้น
1.4   ซักถามผู้เรียนเพื่อเป็นการตรวจสอบความเข้าใจ
1.5   เน้นประเด็นที่สำคัญให้ผู้เรียนทราบ
1.6   อธิบายให้ตัวอย่าง อย่างชัดเจน
1.7   สาธิตและทำแบบให้ดู
1.8   อธิบายรายละเอียดและยกตัวอย่างประกอบประเด็นเนื้อหาที่สำคัญๆ

ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติโดยผู้สอนคอยแนะนำ มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังนี้
1.1    การฝึกผู้เรียนในระยะแรกผู้สอนควรคอยช่วยเหลือแนะนำโดยตลอด
1.2   ซักถามผู้เรียนบ่อยๆถามคำถามให้มากเพื่อให้ผู้เรียนตอบและให้ฝึกอย่างเพียงพอ
1.3   คำถามที่ถามควรเกี่ยวข้องกับเนื้อหาใหม่หรือทักษะใหม่
1.4   ผู้สอนตรวจสอบความเข้าใจโดยประเมินจากคำตอบของผู้เรียน
1.5   ระหว่างตรวจสอบความเข้าใจ ผู้สอนจะให้คำอธิบายเพิ่มเติม ให้ข้อมูลย้อนกลับหรืออธิบาย
ซ้ำ (ถ้าจำเป็น)  และให้ผู้เรียนมีการตอบสนองและให้ข้อมูลย้อนกลับ  ผู้สอนควรแน่ใจว่าผู้เรียนคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
1.6   การให้ฝึกปฏิบัติในระยะแรก ผู้สอนควรคอยแนะนำจนผู้เรียนสามารถปฏิบัติเองโดยลำพัง
ภายหลัง

  • การฝึกปฏิบัติควรทำอย่างต่อเนื่องจนกว่าผู้เรียนจะชำนาญถึงขั้นที่ผู้เรียนทำได้ 80 %
  • ในขั้นตอนนี้มีข้อเสนอแนะในการตรวจสอบความเข้าใจเพื่อจะได้แก้ไขความผิดพลาด ความบกพร่อง ด้วยกิจกรรมดังนี้

1)      เตรียมคำถามไว้ล่วงหน้าให้มากเพื่อถามให้ผู้เรียนตอบอย่างทั่วถึงและคำตอบที่
ได้ควรเป็นคำตอบที่ตรงประเด็นสำคัญ หรือตรงตามในเรื่องหรือทักษะที่สอน
2)      ให้ผู้เรียนสรุปกฎหรือกระบวนการด้วยตนเอง
3)      ให้ผู้เรียนตอบโดยเขียนคำตอบในสมุด
4)      หลังจากการสอน ผู้สอนควรให้ผู้เรียนเขียนสาระหรือประเด็นสำคัญของบทเรียน
และสรุปประเด็นสำคัญลงในสมุด

  • ดังนั้นการตรวจสอบความเข้าใจจึงมีความสำคัญและจำเป็นเพื่อเป็นการทบทวนเนื้อหาสาระที่

เรียนผ่านมาและย้ำเพื่อความเข้าใจของผู้เรียน

ขั้นตอนที่ 4 การแก้ไขให้ถูกต้อง และการให้ข้อมูลย้อนกลับ มีขั้นตอน ดังนี้
1.1  ผู้สอนควรรับรู้และตอบรับคำตอบที่รวดเร็วและมั่นใจของผู้เรียนอย่างสั้นๆ เช่น ถูกต้อง หรือคำชมอื่นๆ
4.2 คำตอบที่ลังเลของผู้เรียน ผู้สอนอาจต้องให้ข้อมูลย้อนกลับ ให้ตอบอย่างมั่นใจ
4.3 การตอบผิดหรือปฏิบัติผิดของผู้เรียนบ่งบอกถึงความจำเป็นในการฝึกเพิ่ม
1.4  ตรวจสอบติดตามบทเรียนของผู้เรียนเสมอ
1.5  พยายามให้การตอบสนองทุกคำถามที่ผู้เรียนถาม
1.6  การแก้ไขการตอบผิดของผู้เรียน ผู้สอนควรให้ข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ถามคำถามให้ง่ายขึ้น ให้
คำแนะนำ อธิบาย ทบทวน หรือสอนใหม่ในขั้นสุดท้าย
1.7  ถามคำถามซ้ำจนกว่าจะถูกต้อง
1.8  การให้ฝึกปฏิบัติโดยผู้สอนคอยแนะนำการแก้ไขควรทำต่อไป จนกว่าผู้สอนจะแน่ใจว่าผู้เรียน
บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของบทเรียน
1.9  ให้คำชมเชยแต่พอควร ในเรื่องที่เฉพาะเจาะจง จะทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่าการ
ชมเชยแบบพร่ำเพรื่อ
            ในประเด็นของการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของผู้เรียนมีข้อเสนอเพื่อการตอบสนองคำตอบของผู้เรียน ดังนี้
1)  ตอบถูกต้องเร็วด้วยความมั่นใจในคำตอบโดยปกติพฤติกรรมผู้เรียน จะปรากฏในช่วง
การเรียนตอนแรกๆ ตอนที่มีการทบทวน ผู้ควรถามคำถามใหม่ๆ พร้อมทั้งมีการฝึกเพิ่มเติมและกล่าวคำชมเชย
2)  ตอบถูกแต่ลังเลไม่แน่ใจ จะปรากฏในการเรียนในตอนต้นหรือในช่วงให้ฝึกโดยมีผู้สอนคอย
แนะนำ ผู้สอนควรให้ข้อมูลย้อนกลับหรือตอบสนองกลับด้วยคำพูดสั้นๆ เช่น ถูกต้อง ดีมาก การให้ข้อมูลย้อนกลับในลักษณะนี้ผู้สอนควรให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจว่าคำตอบนั้นถูกต้องเพราะอะไร
3)  ถ้าผู้เรียนตอบผิดเพราะสะเพร่าควรให้การทบทวนแก้ไขและให้ข้อมูลย้อนกลับทันที
4)  ตอบผิดเพราะไม่มีความรู้ ไม่จำเนื้อหาสาระ  ผู้เรียนที่ตอบผิดในช่วงต้นซึ่งเป็นระยะการ
เรียนเนื้อหาสาระใหม่ ชี้ให้เห็นว่า มีความรู้ไม่แน่นพอ ไม่รู้จริงเกี่ยวกับสาระความรู้นั้น ผู้สอนควรแก้ไขดังนี้
4.1) ครูชี้นำเสนอแนะแนวทางเพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง โดยถามคำถามใหม่และง่าย
พร้อมทั้งยกตัวอย่างและเหตุผลประกอบ
4.2) สอนใหม่ สำหรับนักเรียนที่ไม่เข้าใจ
4.3) บอกเป็นนัย ถามคำถามที่ง่ายๆ หรือทำการสอนใหม่
การให้ข้อมูลย้อนกลับเป็นองค์ประกอบสำคัญเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ได้ประการหนึ่ง

ขั้นตอนที่  5 การฝึกอย่างอิสระ (ฝึกปฏิบัติที่โต๊ะ)  มีข้อเสนอแนะการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
1.1   ให้นักเรียนฝึกอย่างเพียงพอ
1.2   ฝึกทักษะเนื้อหาสาระที่เรียนไปแล้ว
1.3   ฝึกเพื่อให้เกิดความชำนาญ
1.4   การฝึกปฏิบัติโดยลำพัง ควรปฏิบัติได้ถูกต้อง 95%
1.5   นักเรียนจะตื่นตัว ถ้าการให้ฝึกปฏิบัติ ได้โดยมีการติดตามตรวจสอบ
1.6   กระตุ้นให้นักเรียนมีความรับผิดชอบในงานที่ตนเองปฏิบัติ และมีความกระตือรือร้นเสมอ
การฝึกปฏิบัติที่โต๊ะเพื่อให้การปฏิบัติกิจกรรมโดยลำพังที่มีประสิทธิภาพ ควรปฏิบัติดังนี้
            1) ครูควรเดินดูนักเรียนทำงาน ให้ข้อมูลย้อนกลับ ถามคำถามและอธิบายสั้นๆ อย่างทั่วถึง
            2)  ครูควรจัดที่นั่งให้มองเห็นนักเรียนทั้งชั้นในขณะปฎิบัติงาน
            3) ครูควรวางแผนการปฏิบัติกิจกรรมโดยให้นักเรียนฝึกปฏิบัติอย่างอิสระและประสบผลสำเร็จ ครูต้องจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามจุดประสงค์ มีการเตรียมการฝึกให้พร้อม และเพียงพอสำหรับนักเรียนทุกคน และต้องเป็นกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพ โดยความมุ่งหวังให้นักเรียนสามารถตอบได้โดยอัตโนมัติ โดยการที่ให้นักเรียนฝึกปฏิบัติมาก ๆ

ขั้นตอนที่  6 การทบทวนรายสัปดาห์และรายเดือน   มีข้อเสนอการจัดการเรียนรู้ดังนี้
            6.1 ทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปแล้วอย่างเป็นระบบโดยทบทวนเป็นประจำสัปดาห์ และทบทวนประจำเดือน การทบทวนของครูช่วยให้ครูได้ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน และเพื่อให้แน่ใจว่าความรู้ทักษะที่เรียนไปแล้ว   นักเรียนรู้และปฏิบัติเข้าใจเป็นอย่างดีและเพื่อความคงทนของความรู้
1.2 ตรวจการบ้านที่ให้ทำ
1.3 ทดสอบบ่อย ๆ
                1.4 สอนใหม่ในเนื้อหาที่บกพร่อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น